หน่วยงานภาครัฐได้เล็งเห็นถึงความอันตรายของ DC High Votage ตามที่กล่าวมาจากบทความที่แล้ว จึงได้ออกมาตรการควบคุมเพื่อให้การติดตั้งโซล่าเซลล์มีความปลอดภัยเพิ่มขึ้น โดยเริ่มจากกิจการขนาดใหญ่ที่เข้าข่ายต้องขออนุญาตก่อนติดตั้ง โดยอ้างอิงไปที่พระราชกฤษฎีกา กําหนดพลังงานควบคุม พ.ศ. ๒๕๓๖ มาตรา ๓ ที่ระบุว่า "ให้พลังงานไฟฟ้าซึ่งขนาดการผลิตรวมของแต่ละแหล่งผลิตตั้งแต่ ๒oo กิโลโวลต์แอมแปร์ขึ้นไป เป็นพลังงานควบคุม" ซึ่งก็คือในการติดตั้งโซล่าเซลล์ที่มีขนาดกำลังผลิตรวมตั้งแต่ 200 กิโลวัตต์ขึ้นไปนั้น จะถูกจัดเป็นพลังงานควบคุมตาม พระราชกฤษฎีกา กําหนดพลังงานควบคุม พ.ศ. ๒๕๓๖
ดังนั้นหากติดตั้งโซล่าเซลล์ที่มีกำลังผลิตรวมตั้งแต่ 200 กิโลวัตต์ขึ้นไปจะต้องยื่นขอใบอนุญาตให้ผลิตพลังงานควบคุม หรือ ใบอนุญาต พค. 2
ตามประกาศของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เรื่อง เงื่อนไขการอนุญาตให้ผลิตพลังงานควบคุม สำหรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา ข้อที่ ๓ กำหนดว่า "ระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน วสท. o๒๒o๑๓-๒๒"
และมาตรฐาน วสท. 022013-22 หัวข้อที่ 4.3.13 เรื่องอุปกรณ์หยุดการทำงานฉุกเฉิน (rapid shutdown) ระบุว่า "ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา ต้องมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่หยุดการทำงานฉุกเฉิน"
โดยอุปกรณ์ที่มีคุณลักษณะตรงตามข้อกำหนด มาตรฐาน วสท. 022013-22 หัวข้อที่ 4.3.13 จะประกอบไปด้วย Rapid Shutdown, Optimizer และ Micro Inverter
สรุปคือหากใครก็ตามที่จะติดตั้ง Solar Cell กำลังผลิตรวมตั้งแต่ 200kW ขึ้นไป ต้องยื่นขอใบอนุญาต พค. 2 ด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์ Rapid Shutdown หรือ Optimizer หรือ Micro Inverter จึงจะเข้าหลักเกณฑ์ในการขอใบอนุญาตได้นั่นเอง